วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันศุกร์  ที่ 19 เมษายน 2562 เวลา 12.30-16.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ได้สรุป มาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์ให้เชื่อโยงเกี่ยวกับกิจกรรมที่เราจะสอน สามารถนำมาจัดประสบการณ์ที่เป็น หน่วย’’ ได้อย่างไร และให้ตรงตามสาระทั้ง 6 สาระ

การทำงานของสมอง คือ สมองคืออวัยวะสำคัญของมนุษย์เป็นส่วนกลางของระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมและสั่งการเคลื่อนไหว แสดงพฤติกรรม การรับรู้ อารมณ์ ความรู้สึกและรักษาสมดุลย์ในร่างกาย

การเล่นของเด็กปฐมวัย คือ เกิดความสนุกสนาน ขณะที่เด็กเล่นจะเกิดการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันด้วย เด็กจะเรียนรู้ได้ดีโดยผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรม  โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และมีโอกาสพัฒนาทักษะต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กันด้วย

เพียเจท์ (Piaget)  ได้กล่าวว่าการเล่นเป็นกิจกรรมในการพักผ่อน เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่ไม่ได้มุ่งเน้นการแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงว่าเมื่อเด็กเล่นแล้วได้ประโยชน์ รู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา ให้อภัย และเสียสละ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์ ได้ทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

การอนุรักษ์ คือ คือ เด็กสามารถใช้เหตุผลได้ โดยให้เห็นจากของจริง แต่ถ้ายังไม่ผ่านต้องให้เด็กเห็นของจริง เล่นผ่านของจริงก่อน ไม่เช่นนั้นเด็กจะตอบตามที่ตาเห็น และจะซึมซับ ปรับโครงสร้าง เพราะ คณิตศาสตร์คือเครื่องมือในชีวิตประจำวัน


สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

มาตรฐาน ค 1.1            เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2            เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.3            ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.4            เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้

สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค 2.1            เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค 2.2            แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด

สาระที่ 3          เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1            อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค 3.2            ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา

สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1            เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค 4.2            ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์  (mathematical  model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนแปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา

 สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1            เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค 5.2            ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3            ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1            มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์



สิ่งที่เราจะนำมาจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย

สาระที่ควรเรียนรู้

1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและ ทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี

2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน

3.ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ

4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ยานพาหนะและการสื่อสารต่างๆที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก จากนั้นอาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องและวิธีลำดับขั้นตอนการแตกเนื้อหา

อาจารย์ให้ทำแผนผังเกี่ยวกับ หน่วย ไก่ ให้สอดคล้องกับสาระมาตรฐาน ดังนี้

1.ชื่อ   
          ไก่บ้าน
            ไก่ฟ้า
            ไก่ชน
2.ลักษณะ
สี – ดำ ขาว แดง เหลือง ส้ม
ขนาด – เตี้ย สูง
ผิว – เรียบ หยาบขรุขระ
3.การดำรงชีวิต
อากาศ
อาหาร – ข้าวเปลือก ข้าวสาร ปลายข้าว
ที่อยู่อาศัย – สุ้มไก่ เล้าไก่ กรง                                                                                                                 4.ประโยชน์
ทำอาหาร ไก่ทอด ไก่ต้ม
สร้างรายได้ – อุปกรณ์ทำความสะอาด ขายไข่ของไก่
5.โทษ
          โรค – ไข้หวัดนก ภูมิแพ้





อาจารย์ได้ให้เราทำแผ่นพับ เรียนถึงผู้ปกครองในการจัดประสบการณ์ในแต่ละครั้ง แต่ละหน่วย








คำศัพท์
Number                       จำนวน
Measurement               การวัด
Geometry                     เรขาคณิต
Algebra                        พีชคณิต
Analysis                       การวิเคราะห์
Probability                   ความน่าจะเป็น
Skills                            ทักษะ
Conservation               การอนุรักษ์
Playing                        การเล่น

Diagram                       แผนผัง

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังแนวข้อสอบที่อาจารย์บอกและทำงานของตัวเองอย่างตั้งใจ
ประเมินเพื่อน : ให้ความร่วมมือ ช่วยกันตอบ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้ให้แนวข้อสอบอย่างละเอียด อธิบายโดยให้เรามีส่วนร่วมในการตอบ

        


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันศุกร์  ที่ 19 เมษายน 2562 เวลา 12.30-16.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ได้นัดทั้ง 2 ห้องมาเรียนพร้อมกันเพื่อบอกแนวข้อสอบและให้นักศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับ กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัยให้สรุปออกมาให้เป็นรูปแบบของตัวเอง

ข้อข้อที่ได้สรุปมีดังนี้
- ความสำคัญของคณิตศาสตร์
- เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
- สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
- คุณภาพของเด็กเมื่อการศึกษาปฐมวัย
- ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้
- การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
- การวัดและการประเมินผล




คำศัพท์

1.     Importance       ความสำคัญ
2.     Learning          เรียนรู้
3.     Standard          มาตรฐาน
4.     Quality            คุณภาพ
5.     Indicators         ตัวชี้วัด
6.     Experience arrangement การจัดประสบการณ์
7.     Evaluation        การประเมินผล
8.     Information      ข้อมูล
9.     Thinking         การคิด
10.  Creative        สร้างสรรค์


ประเมินตนเอง : ทำงานที่ได้รับมอบหมาย

ประเมินเพื่อน : ตั้งใจทำงานของตัวเอง ให้เรียบร้อยเพื่อนำส่งอาจารย์
ประเมินอาจารย์ : ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสรุป การคิด การออกแบบ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันศุกร์  ที่ 5 เมษายน 2562 เวลา 12.30-16.30 น.

วันนี้มีกิจกรรมประกวดนางสงกรานต์ที่มหาวิทยาลัย อาจารย์ได้ไปชมงานของ               คณะศึกษาศาสตร์ และขึ้นมาแจ้งนักศึกษาเรื่องงาน แล้วอาจารย์เห็นว่าต่อไปเป็นวันหยุดยาวอาจารย์จึงให้นักศึกษากลับบ้าน เพราะส่วนมากกลับตจว. ซึ่งอาจจะมีรถติด





วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2562


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันศุกร์  ที่ 22 มีนาคม 2562 เวลา 12.30-16.30 น.


วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มนำเสนอสื่อของตัวเอง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อย 


เกมบิงโก

"คานดีดตัวเลขหรรษา"
จะเป็นสื่อให้เด็กได้รู้จักจำนวนตัวเลข ฝึกการนับจำนวน ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ดให้ตรงกับประสาทสัมผัส

"จิ๊กซอตัวเลข"
เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะการนับเลข 0-9 และเป็นสื่อที่ให้เด็กสามารถอธิบายการเรียนและบอกถึงวัตถุประสงค์ได้

"บวกเลขจากภาพ"

สื่อ ร้อยลูกปักจากฝาขวด
เป็นของกลุ่มดิฉันเอง ดิฉันได้นำเสนอถึงวิธีการสอน คือ
1.ร้อยลูกปัดตามจำนวนตัวเลข
2.ร้อยลูกปัดจากแบบที่กำหนดให้
*อาจารย์ได้แนะนำให้ทำแบบหลายๆรูปแบบซึงเป็นการสอนแบบอนุกลม



คำศัพท์
1.Relationship                                                   ความสัมพันธ์
2.observance                                                     การสังเกต
3.Skills                                                              ทักษะ
4.Creativity                                                        ความคิดสร้างสรรค
5.Set                                                                   กำหนด
6.Equipment                                                       อุปกรณ์
7.Step                                                                 ขั้นตอน
8.Present                                                            นำเสนอ
9.Number                                                           ตัวเลข
10.Modify                                                          แก้ไข

ประเมินตัวเอง : ตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนอกลุ่ม และนำไปปรับการนำเสนอของตัวเอง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจนำเสนอสื่อของตัวเอง และฟังกลุ่มอื่นๆอย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการปรับปรุงสื่อ เพื่อที่จะให้ออกมาเรียบร้อยและสมบูรณ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันศุกร์  ที่ 15 มีนาคม 2562 เวลา 12.30-16.30 น.

วันนี้อาจารย์ได้แจ้งให้ตัวแทนมาเบิกของที่อาจารย์ เพื่อนำไปทำสื่อเพิ่มเติม และให้ทำสื่อของตัวเองให้เสร็จ และนัดมายให้ส่งวันศุกร์ ที่ 22 มีนาคม ในเวลาเรียน

กิจกกรม..การร้อยลูกปัด



วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมือและสายตาให้ประสานสัมพันธ์กัน
2.เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
3.เพื่อพัฒนาการสังเกต การจำแนก การเรียงลำดับ
4.เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดที่เป็นระบบ อธิบายถึงความสัมพันธ์ บอกลักษณะของรูปในลำดับต่อไปได้

อุปกรณ์



1.ฝาขวดน้ำหลากสี
2.ที่เจาะฝาขวด
3.ปืนกาว , แท่งกาว
4.สก็อตเทปใส
5.กรรไกร คัดเตอร์
6.กระดาษสี
7.กล่องเหลือใช้
8.เชือก
9.ไม้หนีบ 

ขั้นตอนการทำ
1.นำฝาขวดมาเจาะรูตรงกลางให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ


2.นำฝาที่เจาะแล้วนำมาทำให้ติดกันโดยใช้ปืนกาว และใช้สก็อตเทปใสติดรอบข้างของฝาขวดน้ำเพื่อความแข็งแรง



3.นำกระดาษสีมาห่อติดกับกล่องเพื่อความสวยงามและ นำมาใส่ฝาขวดน้ำที่เตรียมไว้


4.นำเชือกมาตัดตวามความยาวและจำนวนที่ต้องการ มัดปมตรงปลายเชือก


รูปแบบกิจกรรม
1.ให้เด็กร้อยลูกปัดตามจำนวนตัวเลขที่กำหนดไว้
2.ให้เด็กร้อยลูกปัดตามรูปแบบที่กำหนดให้

ประโยชน์
1.เด็กๆได้ฝึกฝนสมาธิของตัวเอง ซึ่งจะส่งผลถึงการเรียนรู้อื่นได้ เด็กจะมีสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้นาน
2.เด็กได้เรียนรู้การเล่นกับผู้อื่น รู้จักการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

คำศัพท์
1.     objective                                                     วัตถุประสงค์
2.     observance                                                การสังเกต
3.     Skills                                                           ทักษะ
4.     Step                                                            ขั้นตอน
5.     Number                                                      จำนวน
6.     Set                                                              กำหนด
7.     Train                                                           ฝึกฝน
8.     Equipment                                                  อุปกรณ์
9.     Creativity                                                    ความคิดสร้างสรรค
10.Relationship                                               ความสัมพันธ์

ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำงานที่รับมอบหมาย
ประเมินเพื่อน : ช่วยเหลือกัน มีความแบ่งปัน
ประเมินอาจารย์ : ให้คำแนะนำในการทำสื่อ