วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันศุกร์  ที่ 19 เมษายน 2562 เวลา 12.30-16.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ได้สรุป มาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์ให้เชื่อโยงเกี่ยวกับกิจกรรมที่เราจะสอน สามารถนำมาจัดประสบการณ์ที่เป็น หน่วย’’ ได้อย่างไร และให้ตรงตามสาระทั้ง 6 สาระ

การทำงานของสมอง คือ สมองคืออวัยวะสำคัญของมนุษย์เป็นส่วนกลางของระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมและสั่งการเคลื่อนไหว แสดงพฤติกรรม การรับรู้ อารมณ์ ความรู้สึกและรักษาสมดุลย์ในร่างกาย

การเล่นของเด็กปฐมวัย คือ เกิดความสนุกสนาน ขณะที่เด็กเล่นจะเกิดการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันด้วย เด็กจะเรียนรู้ได้ดีโดยผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรม  โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และมีโอกาสพัฒนาทักษะต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กันด้วย

เพียเจท์ (Piaget)  ได้กล่าวว่าการเล่นเป็นกิจกรรมในการพักผ่อน เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่ไม่ได้มุ่งเน้นการแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงว่าเมื่อเด็กเล่นแล้วได้ประโยชน์ รู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา ให้อภัย และเสียสละ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์ ได้ทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

การอนุรักษ์ คือ คือ เด็กสามารถใช้เหตุผลได้ โดยให้เห็นจากของจริง แต่ถ้ายังไม่ผ่านต้องให้เด็กเห็นของจริง เล่นผ่านของจริงก่อน ไม่เช่นนั้นเด็กจะตอบตามที่ตาเห็น และจะซึมซับ ปรับโครงสร้าง เพราะ คณิตศาสตร์คือเครื่องมือในชีวิตประจำวัน


สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

มาตรฐาน ค 1.1            เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2            เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.3            ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.4            เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้

สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค 2.1            เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค 2.2            แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด

สาระที่ 3          เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1            อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค 3.2            ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา

สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1            เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค 4.2            ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์  (mathematical  model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนแปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา

 สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1            เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค 5.2            ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3            ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1            มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์



สิ่งที่เราจะนำมาจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย

สาระที่ควรเรียนรู้

1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและ ทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี

2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน

3.ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ

4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ยานพาหนะและการสื่อสารต่างๆที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก จากนั้นอาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องและวิธีลำดับขั้นตอนการแตกเนื้อหา

อาจารย์ให้ทำแผนผังเกี่ยวกับ หน่วย ไก่ ให้สอดคล้องกับสาระมาตรฐาน ดังนี้

1.ชื่อ   
          ไก่บ้าน
            ไก่ฟ้า
            ไก่ชน
2.ลักษณะ
สี – ดำ ขาว แดง เหลือง ส้ม
ขนาด – เตี้ย สูง
ผิว – เรียบ หยาบขรุขระ
3.การดำรงชีวิต
อากาศ
อาหาร – ข้าวเปลือก ข้าวสาร ปลายข้าว
ที่อยู่อาศัย – สุ้มไก่ เล้าไก่ กรง                                                                                                                 4.ประโยชน์
ทำอาหาร ไก่ทอด ไก่ต้ม
สร้างรายได้ – อุปกรณ์ทำความสะอาด ขายไข่ของไก่
5.โทษ
          โรค – ไข้หวัดนก ภูมิแพ้





อาจารย์ได้ให้เราทำแผ่นพับ เรียนถึงผู้ปกครองในการจัดประสบการณ์ในแต่ละครั้ง แต่ละหน่วย








คำศัพท์
Number                       จำนวน
Measurement               การวัด
Geometry                     เรขาคณิต
Algebra                        พีชคณิต
Analysis                       การวิเคราะห์
Probability                   ความน่าจะเป็น
Skills                            ทักษะ
Conservation               การอนุรักษ์
Playing                        การเล่น

Diagram                       แผนผัง

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังแนวข้อสอบที่อาจารย์บอกและทำงานของตัวเองอย่างตั้งใจ
ประเมินเพื่อน : ให้ความร่วมมือ ช่วยกันตอบ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้ให้แนวข้อสอบอย่างละเอียด อธิบายโดยให้เรามีส่วนร่วมในการตอบ

        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น