วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562



การบันทึกครั้งที่ 3
วันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2562 เวลา 12.30-16.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

 อาจารย์ให้ให้นักศึกษาทำกิจกรรม โดยอาจารย์ได้ให้อุปกรณ์ดังนี้ และทำตามที่บอกทีละขั้นตอน
อุปกรณ์
1.กระดาษเทาขาว
2.กรรไกร
3.คัดเตอร์
4.เทปใส
5.สีเมจิก
6.แผ่นรองกรีด
7.ไม้บรรทัด 1 ฟุต



ขั้นตอนการทำ
1.แบ่งกระดาษเทาขาวคนละครึ่งกับเพื่อน และนำมาวัด ขนาด 2*2 นิ้ว จำนวนสิบช่องสองแถวต่อกัน จำนวน 2 ชุด


2.นำสีเมจิกขีดตามช่องที่ได้วัดไว้ นำมาตัดให้เรียบร้อย
3.นำกระดาษที่เหลือมาตัดเป็นสี่เหลี่ยม 2 ชิ้น เพื่อนทำเป็นหน่วยการนับเลข

4.ใช้สีเมจิกขีดตามช่องและแบ่งครึ่ง ด้านซ้ายเขียน สิบ ด้านขวาเขียน หน่วย
5.แล้วนำเทปใสมาติดข้างหน้าระหว่างรอยเชื่อมเหมือนเดิมสามารถพับได้
6.นำกระดาษที่เขียนตัวเลข 0-9 ที่ตัดเป็นชิ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาวางไว้ที่ช่อง สิบ  หน่วย



สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม...
ได้รู้จักวิธีการทำสื่อคณิตศาสตร์ และการที่เราเป็นครูปฐมวัยเราควรใช้ทุกอย่างอย่างคุ้มค่า เช่นกระดาษเทาขาว ถ้าเราแบ่งหรือคาดคะเน กระดาษจะพอกับที่เราต้องการที่จะนำมาทำสื่อ สามารถนำมาสอนเด็กได้จริง เกี่ยวกับตัวเลข จำนวนนับ การบวก ลบ คูณ หาร แบบง่ายๆที่เป็นพื้นฐานของเด็ก 



กิจกรรมที่ 2 การปั้นดินน้ำมัน

อุปกรณ์

1.แผ่นรองดินน้ำมัน
2.ดินน้ำมันหลากสี เช่น ม่วง ฟ้า น้ำ เงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง น้ำตาล ดำ เป็นต้น
3.สื่อที่เราทำในกิจกรรมที่ 1

วิธีการสอน

อาจารย์ได้แบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่มใหญ่ และแจกดินน้ำมันให้แต่ละคนปั้นดินน้ำมันเป็นรูปผลไม้คนละ 1 อย่าง ขนาดเล็กพอเหมาะสม และบอกชื่อผลไม้ภาษาไทย -อังกฤษ 





และนำมาวางทีละชิ้นบนสื่อที่เราได้ทำในกิจจกรรมที่ 1จากซ้ายไปขวาเป็นขั้นตอนไปเรื่อยๆ หลังจากนั้นนับว่ามีผลไม้กี่ชนิด นำตัวเลขมาวางตรงช่องที่เป็นช่องสุดท้ายว่ามีกี่ชิ้น

และอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มหาเกณฑ์ในการแบ่งผลไม้ กลุ่มของดิฉันเอา เกณฑ์เป็นผลไม้ที่มีหนาม และนำมาแยกในสื่ออีกชิ้นที่เหมือนกัน เช่น ผลไม้ทั้งหมดมี 13 ผล มีผลไม้มีหนามอยู่ 1 ผล คือ 13-1 = 12 เป็นต้นเป็นการ บวก ลบ ง่ายๆ และสิ่งที่จะหาความแตกต่างได้คือเกณฑ์ในการแบ่ง

สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้...
เราควรสอนเด็กจากสิ่งง่ายๆไปยาก ควรสอนไปเป็นตามลำดับขั้นตอน ควรคำนึงถึงตวามสามารถของเด็กปฐมวัย เช่น กิจกรรมนี้จะเป็นการสอนในเรื่องของการ บวก ลบ พื้นฐานของตัวเด็ก สิ่งที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ง่ายคือ จะต้องมีเกณฑ์ในการแบ่งเช่น สิ่งนี้มากกว่าหรือน้อยกว่าสิ่งนี้ ให้เด็กได้สังเกต เปรียบเทียบ แยกแยะ จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านการกระทำ เพื่อให้เด็กได้รับรู้ ซึมซับเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 

คำศัพท์

1.Number                ตัวเลข
2.Round  shape        รูปทรงกลม
3.Count                    จำนวนนับ
4.Assimilation        การดูดซึม
5.Mangosteen             มังคุด                
6.Custard   apple        น้อยหน่า              
7.Rose  apple              ชมพู่                  
8.Tamarind                 มะขาม           
9.Durian                     ทุเรียน              
10.Apple                      แอปเปิ้ล  
11.Orange                    ส้ม                  
12.Watermelon            แตงโม                    
13.Banana                   กล้วย               
14.Grape                     องุ่น               
15.Strawberry             สตอเบอร์รี่     
16.Mango                  มะม่วง
17.Cherry                   เชอร์รี่   


ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำงานที่ตัวเองได้มอนหมายอย่างตั้งใจ และทำเสร็จทันเวลา
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันเป็นอย่างมาก ช่วยเหลือและสนุนกัน
ประเมินอาจารย์  : อาจารย์สอนได้เข้าใจ อธิบายทุกครั้งที่ไม่เข้าใจ และคอยแนะนำวิธีการพูดการนำเสนอได้ถูกต้อง         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น