วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

วิจัย


งานวิจัย : การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
โดยการจัดกิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือ

นางอังคนา ดวงเกิด
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.นพพร ธนะชัยขันธ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์ ดร.สุดาพร ปัญญาพฤกษ์

หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


บทนำ

คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนามนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่าง ถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้การคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมี ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 56) ปฐมวัย เป็นวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐาน และ เสริมสร้างลักษณะนิสัยบุคลิกภาพและพฤติกรรม หากเด็กไม่ ได้รับการพัฒนาในวัยนี้จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาในวัยต่อ ไป และถ้าเด็กปฐมวัยไม่ได้รับการพัฒนาที่ถูกต้องแล้ว

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1โดยใช้กิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือ

2. เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 จากการใช้กิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือ

3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือ

ขอบเขตด้านตัวแปร

1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือ

2. ตัวแปรตาม ได้แก่

2.1 ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์

2.2 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน

2.3 พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

ขอบเขตด้านระยะเวลา

ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3วัน คือวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ วันละ 1 ชั่วโมงต่อ 1แผนการจัดประสบการณ์ รวมเวลาในการจัดประสบการณ์ทั้งหมด 18 ชั่วโมง ในช่วงกิจกรรมกลางแจ้ง

สรุปผลการวิจัย

จากการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านภาคเหนือของนักเรียนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ปรากฏผล ดังนี้

1. แผนการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือ มีประสิทธิภาพรวม84.67/87.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์80/80 ที่กำหนดไว้

2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 จากการใช้กิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือ ก่อนจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.80

คิดเป็นร้อยละ 46.00 และหลังจัดประสบการณ์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.15 คิดเป็นร้อยละ 87.17 ซึ่งหลังจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์

3. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือระหว่างการจัดประสบการณ์อยู่ในระดับดี

ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้

1. ครูควรยืดหยุ่นเวลาในการจัดกิจกรรม หากพบว่ากิจกรรมการละเล่นบางอย่างยังไม่สื่อถึงสิ่งที่เราจะให้เกิดกับเด็กเท่าที่ควร

2. กิจกรรมบางอย่างที่สนุกสนานและเด็กยังให้ความสนใจอยู่ โดยอาจเพิ่มเวลาขึ้นจากเดิมเล็กน้อยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย

3. ก่อนที่จะให้เด็กได้เล่นการละเล่นพื้นบ้านภาคเหนือ ครูควรอธิบายวิธีการเล่นจุดประสงค์ในการเล่นให้เด็กเข้าใจชัดเจน และควรให้พูดคำคล้องจองและบทร้องในแผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านภาคเหนือ มอญซ่อนผ้า ให้คล่องเพื่อให้มีบรรยากาศในการเล่นและดำเนินกิจกรรมการละเล่นไปตามขั้นตอน

4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกครั้งครูควรใช้สื่อประกอบการสอนและสื่อนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงอาจเป็นสื่อที่มีอยู่แล้วตามสภาพแวดล้อมนั้นๆ เพราะเด็กจะเรียนรู้ได้ดีจากสิ่งที่เป็นรูปธรรม

5. ในขณะที่เด็กทำกิจกรรม ครูควรช่วยโดยให้คำแนะนำ และควรเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะการละเล่นบางชนิดอาจมีการปะทะกันบ้างเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหา

6. สถานที่สำหรับนำเด็กไปเล่น ควรเป็นที่โล่ง พื้นเรียบ กว้างขวางพอสำหรับการเล่นแต่ละชนิด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น