วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562



การบันทึกครั้งที่ 3
วันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2562 เวลา 12.30-16.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

 อาจารย์ให้ให้นักศึกษาทำกิจกรรม โดยอาจารย์ได้ให้อุปกรณ์ดังนี้ และทำตามที่บอกทีละขั้นตอน
อุปกรณ์
1.กระดาษเทาขาว
2.กรรไกร
3.คัดเตอร์
4.เทปใส
5.สีเมจิก
6.แผ่นรองกรีด
7.ไม้บรรทัด 1 ฟุต



ขั้นตอนการทำ
1.แบ่งกระดาษเทาขาวคนละครึ่งกับเพื่อน และนำมาวัด ขนาด 2*2 นิ้ว จำนวนสิบช่องสองแถวต่อกัน จำนวน 2 ชุด


2.นำสีเมจิกขีดตามช่องที่ได้วัดไว้ นำมาตัดให้เรียบร้อย
3.นำกระดาษที่เหลือมาตัดเป็นสี่เหลี่ยม 2 ชิ้น เพื่อนทำเป็นหน่วยการนับเลข

4.ใช้สีเมจิกขีดตามช่องและแบ่งครึ่ง ด้านซ้ายเขียน สิบ ด้านขวาเขียน หน่วย
5.แล้วนำเทปใสมาติดข้างหน้าระหว่างรอยเชื่อมเหมือนเดิมสามารถพับได้
6.นำกระดาษที่เขียนตัวเลข 0-9 ที่ตัดเป็นชิ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาวางไว้ที่ช่อง สิบ  หน่วย



สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม...
ได้รู้จักวิธีการทำสื่อคณิตศาสตร์ และการที่เราเป็นครูปฐมวัยเราควรใช้ทุกอย่างอย่างคุ้มค่า เช่นกระดาษเทาขาว ถ้าเราแบ่งหรือคาดคะเน กระดาษจะพอกับที่เราต้องการที่จะนำมาทำสื่อ สามารถนำมาสอนเด็กได้จริง เกี่ยวกับตัวเลข จำนวนนับ การบวก ลบ คูณ หาร แบบง่ายๆที่เป็นพื้นฐานของเด็ก 



กิจกรรมที่ 2 การปั้นดินน้ำมัน

อุปกรณ์

1.แผ่นรองดินน้ำมัน
2.ดินน้ำมันหลากสี เช่น ม่วง ฟ้า น้ำ เงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง น้ำตาล ดำ เป็นต้น
3.สื่อที่เราทำในกิจกรรมที่ 1

วิธีการสอน

อาจารย์ได้แบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่มใหญ่ และแจกดินน้ำมันให้แต่ละคนปั้นดินน้ำมันเป็นรูปผลไม้คนละ 1 อย่าง ขนาดเล็กพอเหมาะสม และบอกชื่อผลไม้ภาษาไทย -อังกฤษ 





และนำมาวางทีละชิ้นบนสื่อที่เราได้ทำในกิจจกรรมที่ 1จากซ้ายไปขวาเป็นขั้นตอนไปเรื่อยๆ หลังจากนั้นนับว่ามีผลไม้กี่ชนิด นำตัวเลขมาวางตรงช่องที่เป็นช่องสุดท้ายว่ามีกี่ชิ้น

และอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มหาเกณฑ์ในการแบ่งผลไม้ กลุ่มของดิฉันเอา เกณฑ์เป็นผลไม้ที่มีหนาม และนำมาแยกในสื่ออีกชิ้นที่เหมือนกัน เช่น ผลไม้ทั้งหมดมี 13 ผล มีผลไม้มีหนามอยู่ 1 ผล คือ 13-1 = 12 เป็นต้นเป็นการ บวก ลบ ง่ายๆ และสิ่งที่จะหาความแตกต่างได้คือเกณฑ์ในการแบ่ง

สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้...
เราควรสอนเด็กจากสิ่งง่ายๆไปยาก ควรสอนไปเป็นตามลำดับขั้นตอน ควรคำนึงถึงตวามสามารถของเด็กปฐมวัย เช่น กิจกรรมนี้จะเป็นการสอนในเรื่องของการ บวก ลบ พื้นฐานของตัวเด็ก สิ่งที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ง่ายคือ จะต้องมีเกณฑ์ในการแบ่งเช่น สิ่งนี้มากกว่าหรือน้อยกว่าสิ่งนี้ ให้เด็กได้สังเกต เปรียบเทียบ แยกแยะ จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านการกระทำ เพื่อให้เด็กได้รับรู้ ซึมซับเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 

คำศัพท์

1.Number                ตัวเลข
2.Round  shape        รูปทรงกลม
3.Count                    จำนวนนับ
4.Assimilation        การดูดซึม
5.Mangosteen             มังคุด                
6.Custard   apple        น้อยหน่า              
7.Rose  apple              ชมพู่                  
8.Tamarind                 มะขาม           
9.Durian                     ทุเรียน              
10.Apple                      แอปเปิ้ล  
11.Orange                    ส้ม                  
12.Watermelon            แตงโม                    
13.Banana                   กล้วย               
14.Grape                     องุ่น               
15.Strawberry             สตอเบอร์รี่     
16.Mango                  มะม่วง
17.Cherry                   เชอร์รี่   


ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำงานที่ตัวเองได้มอนหมายอย่างตั้งใจ และทำเสร็จทันเวลา
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันเป็นอย่างมาก ช่วยเหลือและสนุนกัน
ประเมินอาจารย์  : อาจารย์สอนได้เข้าใจ อธิบายทุกครั้งที่ไม่เข้าใจ และคอยแนะนำวิธีการพูดการนำเสนอได้ถูกต้อง         

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562


 การบันทึกครั้งที่ 2
วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2561 เวลา 12.30-16.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
อาจารย์ได้อธิบายของ มคอ.3 ของรายวิชานี้ว่าสิ่งไหนเป็นเกณฑ์ต่างๆ 
กิจกรรมกรรมที่1
อาจารย์ ได้ให้นักศึกษาบอกถึงสิ่งที่คณิตศาสตร์ในห้องห้องเรียน เช่น สมุด จำนวนเพื่อน กล่อง ลูกบาส ตู้ คอมพิวเตอร์ ไม้บรรทัด เป็นต้น


ต่อไปอาจารย์แจกระดาษคนละ 1 แผ่น
ครั้งที่ 1 ให้นักศึกษาหาจุดตรงกลาง โดยใช้การคาดเดา
ครั้งที่ 2 ให้พับกระดาษหาจุดกึ่งกลาง ว่าใกล้เคียงกับที่เราคาดเดาไว้หรือเปล่า
ครั้งที่ 3 อาจารย์ถามว่าอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถหาจุดกึ่งกลางได้ เช่น ไม้บรรทัด คืบ ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะเป็นเกณฑ์ในการวัด

และสุดท้ายอาจารย์ที่ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น เพื่อทำงานเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยสิ่งสำคัญของวิชานี้มีอยู่ 3 อย่าง คือ การจัดประสบการณ์  คณิตศาสตร์  และเด็กปฐมวัย ให้เราทำออกมาเป็น mild mapping เนื้อหาที่นำมาใส่คือเนื้อหาจากแนวการสอน  อาจารย์จะสรุปไปให้ในแต่ละข้ออธิบายในหัวข้อส่วนต่างๆให้เข้าใจมากขึ้น



สรุป

     รับรู้การกระทำผ่านวัตถุประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อส่งไปยังสมองหลังจากนั้นสมองจะบันทึกเหตุการณ์ที่ผ่านมาเก็บไว้พอมีสิ่งใหม่ๆเข้ามาจะเรียกว่าการรับรู้เพราะสมองได้ทำการบันทึกแล้ว การรับรู้จะเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอด



คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1.     Mathematical                               คณิตศาสตร์
2.     Provision                                      ข้อกำหนด
3.     Experience arrangement             การจัดประสบการณ์
4.     early childhood                            เด็กปฐมวัย
5.     development                                พัฒนาการ
6.     absorb                                         ซึมซับ
7.     change                                         การเปลี่ยนแปลง
8.     action                                           การกระทำ
9.     Learning                                       การเรียนรู้
10.      Guessing                                 การคาดเดา
ประเมินตนเอง : ตั้งใจในกิจกรรมต่างๆ เช่นตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน : ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามบางส่วน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจ สอนในเรื่องของสิ่งที่เราต้องรู้ และสามารถทำให้เราเข้าใจ และตอบคำถามของอาจารย์ได้

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562


การบันทึกครั้งที่ 1
วันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2561 เวลา 12.30-16.30 น.

 เนื้อหาที่เรียน

            วันนี้เป็นการเรียนคาบแรกของวิชา อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำงานในห้องเรียนโดยมีหัวข้อดังนี้

ทำ Blog 11 มาราคม 2561

-         -  ชื่อวิชา คำอธิบาย นาฬิกา

-         - ค้นคว้าวิจัย 5 บท (ไม่เกิน 10 ปี)

-         -บทความคณิตศาสตร์

-         -ตัวอย่างการสอน

-         -สื่อคณิตศาสตร์

-         -หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

-          *ลิ้ง มคอ.3


วิจัย


งานวิจัย : การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
โดยการจัดกิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือ

นางอังคนา ดวงเกิด
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.นพพร ธนะชัยขันธ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์ ดร.สุดาพร ปัญญาพฤกษ์

หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


บทนำ

คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนามนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่าง ถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้การคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมี ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 56) ปฐมวัย เป็นวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐาน และ เสริมสร้างลักษณะนิสัยบุคลิกภาพและพฤติกรรม หากเด็กไม่ ได้รับการพัฒนาในวัยนี้จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาในวัยต่อ ไป และถ้าเด็กปฐมวัยไม่ได้รับการพัฒนาที่ถูกต้องแล้ว

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1โดยใช้กิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือ

2. เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 จากการใช้กิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือ

3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือ

ขอบเขตด้านตัวแปร

1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือ

2. ตัวแปรตาม ได้แก่

2.1 ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์

2.2 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน

2.3 พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

ขอบเขตด้านระยะเวลา

ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3วัน คือวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ วันละ 1 ชั่วโมงต่อ 1แผนการจัดประสบการณ์ รวมเวลาในการจัดประสบการณ์ทั้งหมด 18 ชั่วโมง ในช่วงกิจกรรมกลางแจ้ง

สรุปผลการวิจัย

จากการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านภาคเหนือของนักเรียนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ปรากฏผล ดังนี้

1. แผนการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือ มีประสิทธิภาพรวม84.67/87.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์80/80 ที่กำหนดไว้

2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 จากการใช้กิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือ ก่อนจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.80

คิดเป็นร้อยละ 46.00 และหลังจัดประสบการณ์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.15 คิดเป็นร้อยละ 87.17 ซึ่งหลังจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์

3. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการละเล่นท้องถิ่นพื้นบ้านภาคเหนือระหว่างการจัดประสบการณ์อยู่ในระดับดี

ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้

1. ครูควรยืดหยุ่นเวลาในการจัดกิจกรรม หากพบว่ากิจกรรมการละเล่นบางอย่างยังไม่สื่อถึงสิ่งที่เราจะให้เกิดกับเด็กเท่าที่ควร

2. กิจกรรมบางอย่างที่สนุกสนานและเด็กยังให้ความสนใจอยู่ โดยอาจเพิ่มเวลาขึ้นจากเดิมเล็กน้อยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย

3. ก่อนที่จะให้เด็กได้เล่นการละเล่นพื้นบ้านภาคเหนือ ครูควรอธิบายวิธีการเล่นจุดประสงค์ในการเล่นให้เด็กเข้าใจชัดเจน และควรให้พูดคำคล้องจองและบทร้องในแผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านภาคเหนือ มอญซ่อนผ้า ให้คล่องเพื่อให้มีบรรยากาศในการเล่นและดำเนินกิจกรรมการละเล่นไปตามขั้นตอน

4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกครั้งครูควรใช้สื่อประกอบการสอนและสื่อนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงอาจเป็นสื่อที่มีอยู่แล้วตามสภาพแวดล้อมนั้นๆ เพราะเด็กจะเรียนรู้ได้ดีจากสิ่งที่เป็นรูปธรรม

5. ในขณะที่เด็กทำกิจกรรม ครูควรช่วยโดยให้คำแนะนำ และควรเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะการละเล่นบางชนิดอาจมีการปะทะกันบ้างเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหา

6. สถานที่สำหรับนำเด็กไปเล่น ควรเป็นที่โล่ง พื้นเรียบ กว้างขวางพอสำหรับการเล่นแต่ละชนิด




บทความ

บทความ : เรื่องสอนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก

ที่มา : วรารัตน์  สิริจิตราภรณ์
โรงเรียนบ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ด)
          
         
ถ้าพูดถึงคำว่า “ คณิตศาสตร์ ” สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นฟังดูเหมือนเป็นเรื่องยากในความคิดของเด็ก แต่เราสามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานไม่เครียดไปกับเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้ได้โดยหาวิธีที่ง่ายและเหมาะสมตามวัย พัฒนาการของเด็กดังเช่นเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการเล่น และได้สัมผัสสิ่งต่างๆเพื่อให้เด็กเกิดการจดจำที่ยาวนาน  ดังนั้นผู้เขียนจึงคิดหาวิธีในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้สื่อทั้งที่เป็นรูปภาพ ของจริง ของจำลองที่หลากหลาย บางครั้งใช้สื่อในห้องเรียนที่มีอยู่ตามมุมประสบการณ์เช่น ไม้บล็อก  ลูกบอล ตัวต่อ ฯลฯและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดในเรื่องของการจำแนก การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การนับจำนวน รูปร่างรูปทรง ใช้วิธีจัดกิจกรรมกลุ่มซึ่งเด็กได้เรียนรู้ร่วมกันและรู้จักสังเกต ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เช่นในการจัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่องไม้ดอกไม้ประดับ และต้องการให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องการจำแนกสิ่งต่างๆเราสามารถจัดเด็กเป็นกลุ่มย่อยและนำสื่อของจริงเช่นดอกไม้ชนิดต่างๆที่มีสีต่างๆมาให้เด็กสังเกตและจำแนกดอกไม้ตามชนิด  สี กลิ่นของดอกไม้   นอกจากนี้เด็กสามารถเปรียบเทียบจำนวนของดอกไม้ที่จำแนกได้อีก และเปิดโอกาสให้เด็กแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของกลุ่มของตนเองโดยวิธีการวาดภาพหรือการเล่าให้ครูและเพื่อนๆฟัง โดยครูให้กำลังใจเด็กในการปฏิบัติกิจกรรมโดยการชมเชยหรือให้เพื่อนๆปรบมือให้กำลังใจ    ผู้เขียนคิดว่าวิธีการจัดประสบการณ์นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุป
การเรียนรู้ให้สนุกสนานไม่เครียดไปพร้อมกับเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้ และเหมาะสมตามวัยโดยเด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่น ได้สัมผัสสิ่งต่างๆเพื่อให้เด็กเกิดการจดจำที่ยาวนาน ผู้เขียนจึงคิดหาวิธีในการจัดกิจกรรมคณิตสาสตร์ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน โดยจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์

กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (เรื่องดอกไม้)
ให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องของการจำแนกสิ่งต่างๆ นำดอกไม้ชนิดต่างๆที่มีสีต่างๆ มาให้เด็กสังเกต และจำแนกดอกไม้ตาม ชนิด สี กลิ่น ของดอกไม้ และนอกจากนี้เด็กยังสามารถเปรียบเทียบจำนวนของดอกไม้ที่จำแนกได้และเปิดโอกาสให้เด็กเล่าหรือวาดภาพโดยมีครูคอยให้กำลังใจ

ตัวอย่างการสอน


ตัวอย่างการสอน
เรื่อง ปฐมวัยพัฒนาการเรียนรู้เรื่องจำนวนผ่านการเล่น


ที่โรงเรียนเด็กเล็กไตรตัน ฮิลล์ กำลังทดสอบการปรับพื้นฐานชั้นเตรียมและอนุบาลโดยมีการพัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์ผ่านการเล่น โดยลงมือกระทำ
การจัดกิจกรรม
ห้องเรียนกลางแจ้ง ให้เด็กเลือกเล่นอย่างอิสระ มีเป้ายิงที่มีเลข 5 10 25 50 ให้เด็กใช้ถุงถั่วปาตัวเลขอะไรก็ได้ เป็นเกมที่ฝึกการบวกเลขนักเรียนสามารถนำเลขมาบวกรวมกันเกมโดมิโน เด็กๆเล่นเป็นกลุ่มช่วยกันจับคู่ตัวเลข ช่วยพัฒนาทักษะการเข้าสังคมและทักษะการทำงานเป็นทีมช่วยกันแก้ปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
ห้องเรียน มีแผ่นกระดาษตัวเลขให้เด็กชี้และวาดตัวเลขบนกระบะทราย ให้เด็กเกิดการลงมือกระทำและจะยังไม่บังคับให้เด็กเขียนตัวเลขกิจกรรมคัดแยกของ จัดเป็นกิจกรรมอิสระมีครูแนะนำ แยกหมีสีต่างๆไว้ในถาดที่มีสีเดียวกัน เด็กๆเริ่มนับนับจำนวนหมีในถาด ครูจะไม่เร่งให้เด็กเขียนเลขแต่จะเริ่มสอนให้เด็กรู้จักเลขต่างๆเพื่อให้เขาจำตัวเลขได้จากนั้นค่อยฝึกเขียนเลข  
นอกห้องเรียน มีการสร้างหมู่บ้านจำลอง มีการขายผลไม้และตาชั่งให้เด็กมีประสบการณ์ซื้อขายลองใช้เงินใช้ตาชั่ง ฝึกการใช้ภาษาคณิต