วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2562


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันศุกร์  ที่ 22 มีนาคม 2562 เวลา 12.30-16.30 น.


วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มนำเสนอสื่อของตัวเอง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อย 


เกมบิงโก

"คานดีดตัวเลขหรรษา"
จะเป็นสื่อให้เด็กได้รู้จักจำนวนตัวเลข ฝึกการนับจำนวน ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ดให้ตรงกับประสาทสัมผัส

"จิ๊กซอตัวเลข"
เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะการนับเลข 0-9 และเป็นสื่อที่ให้เด็กสามารถอธิบายการเรียนและบอกถึงวัตถุประสงค์ได้

"บวกเลขจากภาพ"

สื่อ ร้อยลูกปักจากฝาขวด
เป็นของกลุ่มดิฉันเอง ดิฉันได้นำเสนอถึงวิธีการสอน คือ
1.ร้อยลูกปัดตามจำนวนตัวเลข
2.ร้อยลูกปัดจากแบบที่กำหนดให้
*อาจารย์ได้แนะนำให้ทำแบบหลายๆรูปแบบซึงเป็นการสอนแบบอนุกลม



คำศัพท์
1.Relationship                                                   ความสัมพันธ์
2.observance                                                     การสังเกต
3.Skills                                                              ทักษะ
4.Creativity                                                        ความคิดสร้างสรรค
5.Set                                                                   กำหนด
6.Equipment                                                       อุปกรณ์
7.Step                                                                 ขั้นตอน
8.Present                                                            นำเสนอ
9.Number                                                           ตัวเลข
10.Modify                                                          แก้ไข

ประเมินตัวเอง : ตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนอกลุ่ม และนำไปปรับการนำเสนอของตัวเอง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจนำเสนอสื่อของตัวเอง และฟังกลุ่มอื่นๆอย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการปรับปรุงสื่อ เพื่อที่จะให้ออกมาเรียบร้อยและสมบูรณ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันศุกร์  ที่ 15 มีนาคม 2562 เวลา 12.30-16.30 น.

วันนี้อาจารย์ได้แจ้งให้ตัวแทนมาเบิกของที่อาจารย์ เพื่อนำไปทำสื่อเพิ่มเติม และให้ทำสื่อของตัวเองให้เสร็จ และนัดมายให้ส่งวันศุกร์ ที่ 22 มีนาคม ในเวลาเรียน

กิจกกรม..การร้อยลูกปัด



วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมือและสายตาให้ประสานสัมพันธ์กัน
2.เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
3.เพื่อพัฒนาการสังเกต การจำแนก การเรียงลำดับ
4.เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดที่เป็นระบบ อธิบายถึงความสัมพันธ์ บอกลักษณะของรูปในลำดับต่อไปได้

อุปกรณ์



1.ฝาขวดน้ำหลากสี
2.ที่เจาะฝาขวด
3.ปืนกาว , แท่งกาว
4.สก็อตเทปใส
5.กรรไกร คัดเตอร์
6.กระดาษสี
7.กล่องเหลือใช้
8.เชือก
9.ไม้หนีบ 

ขั้นตอนการทำ
1.นำฝาขวดมาเจาะรูตรงกลางให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ


2.นำฝาที่เจาะแล้วนำมาทำให้ติดกันโดยใช้ปืนกาว และใช้สก็อตเทปใสติดรอบข้างของฝาขวดน้ำเพื่อความแข็งแรง



3.นำกระดาษสีมาห่อติดกับกล่องเพื่อความสวยงามและ นำมาใส่ฝาขวดน้ำที่เตรียมไว้


4.นำเชือกมาตัดตวามความยาวและจำนวนที่ต้องการ มัดปมตรงปลายเชือก


รูปแบบกิจกรรม
1.ให้เด็กร้อยลูกปัดตามจำนวนตัวเลขที่กำหนดไว้
2.ให้เด็กร้อยลูกปัดตามรูปแบบที่กำหนดให้

ประโยชน์
1.เด็กๆได้ฝึกฝนสมาธิของตัวเอง ซึ่งจะส่งผลถึงการเรียนรู้อื่นได้ เด็กจะมีสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้นาน
2.เด็กได้เรียนรู้การเล่นกับผู้อื่น รู้จักการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

คำศัพท์
1.     objective                                                     วัตถุประสงค์
2.     observance                                                การสังเกต
3.     Skills                                                           ทักษะ
4.     Step                                                            ขั้นตอน
5.     Number                                                      จำนวน
6.     Set                                                              กำหนด
7.     Train                                                           ฝึกฝน
8.     Equipment                                                  อุปกรณ์
9.     Creativity                                                    ความคิดสร้างสรรค
10.Relationship                                               ความสัมพันธ์

ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำงานที่รับมอบหมาย
ประเมินเพื่อน : ช่วยเหลือกัน มีความแบ่งปัน
ประเมินอาจารย์ : ให้คำแนะนำในการทำสื่อ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  8
วันพุธที่ 13 มีนาคม 2562 เวลา 08.30-12.30 น.


วันนี้อาจารย์ได้นัดหมายทั้ง 2 เซค มาเรียนด้วยกันเพื่อแจกสิ่งของ-อุปกรณ์การทำสื่อของแต่ละกลุ่มที่ต้องการ

-อุปกรณ์ของกลุ่มฉัน เช่น ที่เจาะฝาขวด แท่งกาว เชือก เป็นต้น



          หลังจากทุกกลุ่มได้อุปกรณ์ที่ต้องการให้แต่ละกลุ่มแยกย้ายกันไปทำที่ห้องหรือพื้นที่ในมหาวิทยาลัยได้และในห้องเรียนได้พร้อมทั้งถ่ายรูปเก็บไว้

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูดและบอก ชื่อสิ่งของที่ต้องการ
ประเมินเพื่อน : ช่วยเหลือกัน มีความแบ่งปัน
ประเมินอาจารย์ : ให้คำแนะนำในการทำสื่อ และแจกอุปกรณ์

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  7

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2562 เวลา 12.30-16.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ได้ทบทวนความรู้  เรื่องทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และถามเราเพื่อให้ทดสอบความเข้าใจที่เราได้เรียนกันไป เช่น

การเล่น คืออะไร?
การเล่น เป็นวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยเด็กจะเกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยเป็นเครื่องมือที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ซึมซับ ซึ่งประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะทำงานสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง ซึ่งจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอน



การทำงานของสมอง

ลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 
//
เกิดการเรียนรู้ 
//
การซึมซับ 
//
เกิดความรู้ใหม่ 
//
เพื่อการอยู่รอด 
//
 การอนุรักษณ์

สรุป

เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก แต่ถ้าเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเด็กแค่ รับรู้ ไม่ใช่เกิดการเรียนรู้



ทฤษฎีของจอห์น เพียเจต์


เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ พัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญาซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่าสามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
              อย่างไรก็ตามเพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น
             เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม

หลักพัฒนาการตามแนวคิด
       เพียเจต์ ให้ชื่อการพัฒนาการของเด็กวัยรุ่นหรือวัยมัธยมศึกษาว่า Formal Operation สามารถคิดได้แบบผู้ใหญ่ คือ
       -      คิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมได้        
       -      มีความสนใจในปรัชญาชีวิต ศาสนา อาชีพ
       -      สามารถใช้เหตุผลเป็นหลักในการตัดสินใจ
       -      สามารถคิดเหตุผลได้ทั้งอนุมานและอุปมาน
       -      มีหลักการในการให้เหตุผลของตนเอง เกี่ยวกับความยุติธรรม เสมอภาคและมีมนุษยธรรม

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
                พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.   ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
2.   ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
                - ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
                 - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ
3.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
4.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
              พัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสอง ปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็น ระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล

คำศัพท์
1.      Assimilation                     การซึมซับหรือการดูดซึม
2.      Equilibration                    ความสมดุล
3.      Recreation                       การเล่น
4.      Learning                          การเรียนรู้
5.      Conservation                   การอนุรักษ์
6.      Opposition                       สิ่งตรงกันข้าม
7.      Function                           การกระทำ
8.      Accommodation              การจัดระบบ
9.      Behavior                          พฤติกรรม
10. Metamorphism                 การเปลี่ยนแปลง

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์ และตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน : ช่วยเหลือกัน ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายและทำให้เข้าใจมากขึ้น